2017 : บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด :Logistics,Customs Broker,transport,training,lawyer,equipment,logistics,warehouse for rent,Logistics Service,เช่า, ราคา, เช่าคลัง, คลังสินค้าให้เช่า, คลังสินค้าให้เช่า บางนา บางปู กิ่งแก้ว สุวรรณภุมิ, โกดัง, บริการคลังสินค้า, กระจายสินค้า, บาร์โคด, พื้นที่ว่าง, สต๊อก, Warehouse Service, Warehouse for Rent, Warehouse, DC., Rental, Inventory, WMS, CCTV, C-TPAT, Stuffing, Re-packing, Re-pallet, Storage Document

หลักสูตร : ด้านนำเข้าส่งออกและศุลกากร

การจัดทำเอกสารการส่งออกอย่างมืออาชีพ

                                                                                            หลักสูตร
                                                                     “การจัดทำเอกสารการส่งออกอย่างมืออาชีพ”

หลักการและเหตุผล
          ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีธุรกิจส่งออกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถทดแทนการขาดดุลทางการค้าและส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศ มีความสนใจในการทำการค้าการส่งออกมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นการเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและนำเข้า และประชาชนทั่วไปที่เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจนี้เพื่อได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการจัดทำเอกสารการค้าระหว่างประเทศอย่างมืออาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเพื่อการแข่งขัน และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้สูงขึ้น อีกทั้งเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศให้เข้าสู่ตลาดโลกได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ของการอบรม
1.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับบริการด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
2.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมาย และระเบียบข้อบังคับที่พึงทราบด้านการจัดทำเอกสารการส่งออกที่ถูกต้อง สอดคล้องกับเงื่อนไขของการรับชำระเงินภายใต้กฎเกณฑ์ของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce)
3.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า กับการจัดทำเอกสารภายใต้ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
4.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีจัดทำเอกสารการขนส่ง เอกสารการประกันภัย และเอกสารอื่น ๆ ในการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการใช้คำย่อทั่ว ๆ ไปที่ยอมรับกัน ตัวอย่างเช่น  Ltd. แทนคำว่า Limited,  Int’l แทนคำว่า International, Co. แทนคำว่า Company,  kgs หรือ kos. แทนคำว่า kilos,  Ind แทนคำว่า Industry,  mfr แทนคำว่า  manufacturer  หรือ mt แทนคำว่า metric tons  หรือในทางกลับกัน ที่ไม่ถือว่าเอกสารมีข้อผิดพลาด (Discrepancy)
5.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และขั้นตอนการจัดทำเอกสาร สามารถหลีกเลี่ยงหรือทำให้หมดไปได้ เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบถึงรายละเอียดข้อปฏิบัติ แล้วมีการเจรจาตกลงกัน
6.    เป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อประโยชน์ขององค์กร ในภายภาคหน้า


หัวข้อสัมมนา
1.    วงจรการจัดซื้อสินค้าต่างประเทศ
2.    การเลือกใช้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ (Incoterms ® 2020
-    Any Mode : EXW, FCA, CPT, CIP, DAP, DPU, DDP
-    Water Mode:  FAS, FOB, CFR, CIF.
3.    เอกสารทางการค้าระหว่างประเทศ (Shipping Documents)
4.    ขั้นตอนในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการค้าระหว่างประเทศ และใครเป็นผู้ออกเอกสาร
-    เอกสารทางการเงิน (Financial Documents)       
-    เอกสารทางการขนส่ง (Transport Documents)
-    เอกสารการประกันภัย (Insurance Documents)
-    เอกสารทางการค้า (Commercial Documents)
5.    การจัดทำเอกสารให้ถูกต้อง ตามมาตรฐานของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce-ICC) เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกปฏิเสธการชำระเงิน
-    กำหนดการส่งมอบสินค้าหากความหมายของ Shipment Term เช่น On or About, First Half, Second Half, Beginning, Middle และ End นับกันอย่างไร
-    การแบ่งส่งสินค้า (Partial Shipment) และการส่งสินค้าเป็นงวด (Periodical shipment) ทำกันอย่างไรให้ถูกวิธี
-    ความหมายของคำว่า “About” หรือ “Approximate” ในการค้าระหว่างประเทศ
-    ความหมายของคำว่า “First Class, Well known, Qualified, Independent, Official”  ในการกำหนดผู้ออกเอกสาร
-    การลงนามในเอกสารการค้าระหว่างประเทศมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และหากต้องลงนามต้องกระทำในรูปแบบใด
-    การตรวจสอบเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออกมิได้กระทำเอง มีหลักเกณฑ์อย่างใดตามกฎเกณฑ์ของสภาหอการค้านานาชาติเพื่อมิให้ถูกปฏิเสธการชำระเงิน
-    หากมีเอกสารต้องยื่นเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร และเป็นเวลานอกทำการธนาคารต้องทำแบบใด
-    ถ้าการเรียกเก็บเงินด้วย Letter of Credit หากวันหมดอายุของ L/C ตรงกับวันหยุดต้องทำอย่างไร
-    เอกสารที่มีการปลอมแปลงเกิดขึ้นใครรับผิดชอบ
-    เอกสารสูญหาย หรือล่าช้า ใครจะต้องรับผิดชอบการชำระเงินให้ผู้ส่งออก
6.    การใช้ Bank Guarantee ต่างกับ Standby L/C ใช้เป็นหลักประกันได้หรือไม่อย่างไร และใครจะได้รับประโยชน์ในการเอกสารดังกล่าวอย่างใดบ้าง
7.    หากมีการฟ้องร้องในคดีการค้าระหว่างประเทศผู้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบจะเป็นผู้นำส่งหรือผู้ส่งออก?





























.:: สถาบัน วี-เซิร์ฟ เลขที่ 1 ซอยบางนา-ตราด 25 อาคารเอ็มดี ทาวเวอร์ ชั้น 20 ห้อง F แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260 (ติดกับ Big C บางนา) ::.

Tel : 02-744-1007 02-744-1006 :: E-Mail : training1@v-servegroup.com ::

Copy©right By V-Serve Group 2016