รายละเอียด : WH 105 มาตรการรักษาความปลอดภัย AEO (กรมศุลกากร) เพื่อการบรรจุตู้สินค้าตามมาตรฐาน C-TPAT

IN-HOUSE TRAINING

หลักสูตร
“มาตรการรักษาความปลอดภัย AEO (กรมศุลกากร) เพื่อการบรรจุตู้สินค้าตามมาตรฐาน C-TPAT”
(ระยะเวลาอบรม 2 วัน)

องค์การศุลกากรโลกหรือ WCO ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก (Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade : SAFE) มีหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ ความร่วมมือกันระหว่างศุลกากร และผู้ประกอบการของแต่ละประเทศเพื่อสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้าโดย WCO ได้กำหนดโครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นการรับรองผู้ประกอบการ    ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองจากศุลกากรว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของ WCO ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น ขณะนี้ได้มีหลายประเทศดำเนินโครงการ AEO แล้ว ภายใต้ชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น โครงการ Customs-Trade Partnership Against Terrorism (C-TPAT) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

การส่งออกสินค้านอกจากคุณภาพของตัวสินค้าเองแล้ว การบรรจุสินค้าเข้าตู้ ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งจากกระบวนการขนส่ง สภาพตู้หรือกระบวนการบรรจุตู้เอง การปฏิบัติงานบรรจุสินค้าเข้าตู้ด้วยเทคนิคที่ดีจะเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ

วัตถุประสงค์
1.    เพื่อจัดระบบการจัดการรักษาความปลอดภัยภายในองค์กร
2.    เพื่อจัดทำการประเมินความเสี่ยงในด้านการรักษาความปลอดภัยในองค์กร
3.    เพื่อนำมาตรการส่งเสริมความปลอดภัยในด้านต่างๆ ภายใต้คำแนะนำไปใช้
4.    เพื่อจัดทำเอกสารชี้แจงการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน (Security Profile)
5.    เพื่อให้เห็นภาพรวมของบริษัทการรักษาความปลอดภัย

หัวข้ออบรม
วันที่ 1 มาตรการรักษาความปลอดภัย AEO (กรมศุลกากร)  (ระยะเวลา อบรม 6 ชั่วโมง)

ช่วงเช้า 09.00 – 12.00 น.
1.    ความปลอดภัยในการเข้า-ออกอาคารสถานที่ (Premise Security and Access Control)
2.    ความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงาน (Personnel Security)
3.    ความปลอดภัยในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจ (Trading Partner Security)
4.    ความปลอดภัยในเรื่องสินค้า (Cargo Security)

ช่วงบ่าย 13.00 – 16.00 น. Workshop
5.    ความปลอดภัยสำหรับยานพาหนะขนส่งสินค้า (Conveyance Security)
6.    การรักษาความปลอดภัยข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and IT Security)
7.    การบริหารจัดการและการสืบสวน (Incident Management and Investigation)
8.    การบริหารจัดการเมื่อเกิดวิกฤตการณ์หรือเหตุฉุกเฉินขึ้น และแนวทางดำเนินการแก้ไข (Crisis Management and Incident Recovery)
9.    Work Shop เอกสาร AEO ผู้ประกอบการ

วันที่ 2 การบรรจุตู้สินค้าตามมาตรฐาน C-TPAT”  (ระยะเวลา อบรม 6 ชั่วโมง)
ช่วงเช้า 09.00 – 12.00 น.

1.    ระบบการจัดการรักษาความปลอดภัย (Security Management System)
      1) ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้า
      2) ความปลอดภัยของซีล (Seal Security)
      3) ความปลอดภัยสำหรับยานพาหนะในการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศ (Conveyance and Instruments of International Traffic Security)
2.    การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
3.    มาตรการรักษาความปลอดภัยต่ำสุดสำหรับผู้ผลิตต่างประเทศภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างศุลกากรกับภาคธุรกิจเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย C-TPAT (Customs-Trade Partnership Against Terrorism)
4.    การบรรจุตู้สินค้าตามข้อกำหนดศุลกากรสหรัฐอเมริกา C-TPAT
5.    เรียนรู้ข้อกำหนดเบื้องต้นของ C-TPAT ทั้ง 12 หัวข้อ New Minimum Security Criteria (MSC)
6.    ความปลอดภัยสำหรับยานพาหนะในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Conveyance and Instruments of International Traffic Security)

ช่วงบ่าย 13.00 – 16.00 น. Workshop
7.    มาตรฐานการตรวจสอบสภาพตู้เปล่า ( 7 Point Check)
8.    การตรวจสอบรถพวง (10 Point  Trailer Inspection)
9.    เทคนิคการบรรจุตู้สินค้าและการ Packing เพื่อป้องกันความเสียหายจากการขนส่ง(ขนส่งทางรถ, ทางทะเล และทางอากาศ)
10.    การนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ด้วยความปลอดภัย
11.    การใช้อุปกรณ์ป้องสินค้าเสียหายจากการขนส่ง
12.    ข้อควรระวังสำหรับการบรรจุตู้สินค้าในสินค้าแต่ละชนิด
13.    ถาม - ตอบข้อสงสัย

วิทยากร
    อาจารย์สินศักดิ์  ตวงหิรัญวิมล  (มีเอกสารประวัติวิทยากร)                  
-    ปรึกษาและวิทยากรด้านกฎหมายและการศุลกากร  
-    อดีตข้าราชการกรมศุลกากร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายต่างประเทศ สำนักกฎหมาย ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร และส่วนควบคุมทางศุลกากร ด่านศุลกากรช่องจอม
-    ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากรรักษาการนายด่านศุลกากรอรัญประเทศ

    อาจารย์สำเริง  อินทร์วงษ์   (มีเอกสารประวัติวิทยากร)                  
-    ที่ปรึกษาด้านคลังสินค้าและแพ็คแอนด์มูฟ บริษัท วี-เซิร์ฟโลจิสติกส์ จำกัด
-    ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการคลังสินค้าและบรรจุตู้มาตรฐาน C-TPAT