หลักสูตร : ด้านนำเข้าส่งออกและศุลกากร

การใช้สิทธิประโยชน์ FTA ของประเทศไทย, Third Party Invoicing & Back-to-Back และ การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

หลักสูตร

การใช้สิทธิประโยชน์ FTA ของประเทศไทย, Third Party Invoicing & Back-to-Back
และ การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นการทำข้อตกลงระหว่างสองประเทศหรือหลายประเทศ เพื่อที่จะลดหรือยกเว้นอัตราภาษีศุลกากรและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่เข้าร่วมในข้อตกลงนั้น ๆ
Third Party Invoicing เป็นการทำใบแจ้งหนี้โดยบริษัทที่ไม่ใช่ผู้ขายหรือผู้ซื้อโดยตรง แต่เป็นบุคคลที่สามที่เข้ามาทำหน้าที่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งใช้ในกรณีที่มีการทำธุรกรรมหลายฝ่ายและต้องการอำนวยความสะดวกในด้านการชำระเงินและการจัดส่งสินค้า
Back-to-Back เป็นหนังสือรับรองที่ออกโดยประเทศสมาชิกภาคีที่เป็นคนกลาง เพื่อรองรับรูปแบบการค้าแบบซื้อมา-ขายไประหว่างประเทศภาคีสมาชิก โดยสินค้าจะผลิตจากประเทศภาคีสมาชิกที่หนึ่งแล้วประเทศภาคีสมาชิกที่สอง (Intermediate Country) ซื้อมาแล้วส่งออกไปยังประเทศภาคีสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง
Issued Retroactively เป็นการออก Form ให้หลังจากสินค้าได้ส่งออกไปแล้วมากกว่า 3 วัน

หัวข้ออบรม
1.    การใช้สิทธิประโยชน์ FTA ของประเทศไทย
       -    ภาพรวมและความสำคัญของ FTA
       -    ความหมายและประเภทของ FTA
2.    FTA กับประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย
3.    วิธีการใช้สิทธิประโยชน์ FTA
       -    การตรวจสอบเงื่อนไขในการใช้สิทธิ
       -    ขั้นตอนการใช้สิทธิประโยชน์ FTA
4.    การจัดทำเอกสารเพื่อใช้สิทธิ FTA
5.    Third Party Invoicing & Back-to-Back
       -    ความหมายและลักษณะของ Third Party Invoicing
       -    ข้อดีและข้อเสียของ Third Party Invoicing
       -    กรณีศึกษาการใช้ Third Party Invoicing
6.    กระบวนการและขั้นตอนในการทำธุรกรรม Back-to-Back
7.    การจัดการความเสี่ยงใน Third Party Invoicing & Back-to-Back
8.    การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
9.    กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม
10.    ถาม – ตอบข้อสงสัย

ระยะเวลาการอบรม    1 วัน จำนวน  6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
รูปแบบการฝึกอบรม    การบรรยาย, การให้คำปรึกษา, กรณีศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย        กลุ่มหลัก หัวหน้างาน / ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายปฏิบัติการ, หัวหน้า
งานและพนักงานในสำนักงาน, ฝ่ายพัฒนาบุคคลากร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง