หลักสูตร : ด้านนำเข้าส่งออกและศุลกากร

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด และการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายใต้ FTAs ของประเทศไทย

   ภายใต้การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกหันมาจับคู่เจรจาการค้าในลักษณะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการค้า ลักษณะที่เห็นได้ขัดเจนในปัจจุบันคือการเจรจาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ซึ่งหลายประเทศเชื่อว่าการทำ FTA จะช่วยสนับสนุนการค้า อำนวยความสะดวกทางการค้า และในที่สุดปริมาณการค้าระหว่างกันก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีความสำคัญและต้องให้ความสนใจควบคู่ไปกับเนื้อหาของการเจรจา FTA อื่นๆก็คือกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า(Rule of Origin) ในกระบวนการเจรจาเพื่อจัดทำ FTA นั้น จะต้องมีการตกลงหลักเกณฑ์ที่จะเป็นตัวกำหนดและตัดสินว่า สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทำการผลิตขึ้นในประเทศนั้นจริงหรือไม่

รายละเอียดหลักสูตร 

1) ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำความตกลงทั้งระดับพหุภาคี และ ทวิภาคี

2) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin)

3) การคำนวณสะสมเพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนตามหลักเกณฑ์ แบบใหม่

4) การขออนุญาตแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนตามหลักเกณฑ์ แบบใหม่ (FORM D)

5) การลดหย่อนอัตราอากรในการนำเข้า โดยใช้สิทธิพิเศษทางการค้า เช่น WTO, FTA เป็นต้น

6) การรับรองถิ่นกำเนิดด้วยตัวเอง (Self Certification) มีผลบังคับเมื่อไหร่ และผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวอย่างไร

7) ความสำคัญ Third Country Invoicing และตัวอย่างเอกสาร

8) หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดหย่อนอากรสำหรับเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน และข้อตกลงอื่นๆ ที่ควรทราบ

9) การบันทึกแหล่งกำเนิดสินค้าผิดพลาด จะถูกตัดสิทธิ์ หรือเสียค่าปรับหรือไม่อย่างไร

10) ถาม-ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานจริง

หลักสูตรเหมาะสำหรับ : ผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าและผู้สนใจทั่วไป